วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทย  
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองสั่งสมมาเป็นเวลานานนับพันปีสะท้อนให้เห็นวิถีความเป็นไทยซึ่งเป็นมรดกของบรรพบุรุษจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีคุณค่าควรยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย

ความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย
ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามแต่โบราณ โดยมีที่มาดังนี้
1. วัฒนธรรมไทยที่เรามีการปฏิบัติกันอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นของคนรุ่นก่อนๆ หรือบรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอดมายัง อนุชนรุ่นหลัง
2. จากการที่เราได้ติดต่อกับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ชนชาติที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย คือมอญขอมอินเดีย จีน และชาติตะวันตก สำหรับมอญ และขอม 2 ชาตินี้รับอธิพลมาจากอินเดีย สิ่งใดมีประโยชน์ก็นำมาดัดแปลง เป็นวัฒนธรรมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความสามารถของสังคมไทย จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์หล่อรวมกันเป็นวัฒนธรรมซึ่งลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นๆ หลายอย่างดังนี้
1. การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สังคมไทยรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือของชาวไทย มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาถึง 95 % หลักคำสั่งสอนสำคัญของพุทธศาสนาที่ สำคัญคือสอนให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์วิถีชีวิตของคนไทยจะมีพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่
2. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จากการถวายความจงรักภักดีในวาระต่างๆ แสดงถึงความยึดมั่นในพระองค์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
3. อักษรไทยและภาษาไทย  สังคมไทยมีอักษรใช้มานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยได้รับอิทธิพลจากขอม และได้รับการพัฒนาโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภูมิใจเพราะภาษาถือว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
4. ประเพณีไทย เป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับพระพุทธ ศาสนา อาจมีคติลัทธิศาสนาอื่นผสมอยู่ด้วยซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณ ประเพณีที่นำมาปฏิบัติกันเช่น ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน
5.  วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัยสี่ คือเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย อาหารยารักษาโรค
6. ศิลปกรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการเพียรพยายามของมนุษย์ ในการปรุงแต่งชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทำสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสวยงาม รวมทั้งเป็นอาหารใจด้วยวัฒนธรรมในดานศิลปกรรมมีดังนี้ 
วรรณกรรม เป็นศิลปะการที่แสดงออกในรูปของตัวหนังสือ การแต่งความเป็นเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกทางอารมณ์แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจ
7. จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี มีการแสดงความเคารพแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆเช่นการยิ้ม การทักทาย การไหว้การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ด้านจิตใจ คนไทยได้รับอธิพลจากพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ มีความโอมอ้อมอารีต่อคนทั่วไป เคารพผู้อาวุโส

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
           วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion) 
หลังการปฏิบัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น
2. อธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ 
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
                  - ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
                  - รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการศึกษาและสังคมมีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
                             - ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งทางด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจากตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
           2. ทางการเมือง
                            - 
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
                            - สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ(ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
                            - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจนกระทั่งปี พ.ศ. 2575 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอธิพลจากประเทศในยุโรป  
  
           3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอธิพลจากตะวันตกมาที่สุด
           4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ
วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
           1. การเมืองการปกครองกษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายส่วนประมวลกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้นเป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธี
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
           3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษาแต่ไม่ใช่คำพูดไม่มีอธิพลเหมือนภาษาตะวันตกวรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะมหาภารตยุทธและพระไตรปิฎก
4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนังท่าร่ายร่ำต่าง ๆ

วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
           เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้าส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
           2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
           3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊ก อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
           4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทยใช้ในพิธีก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ยผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น
วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟการสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นอาหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดา เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอก เข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศวรมหาราชอาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้วกล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา        
อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์มีตำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง  ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลง และหยุดชะงักไป ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายในวัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฏิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขายตั้งธนาคารแห่งแรก คือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลาน มาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทนเปลี่ยนแปลงการแต่งกายจัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัยมีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิงเด็กชาย 

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม 
เอกลักษณ์เป็นลักษณะเด่นของสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอื่นเพราะเกิดจากการสั่งสมของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลาช้านานเอกลักษณ์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชนชาวไทยทุกคนในการมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษา ศิลปกรรม อาหาร การแต่งกาย เป็นของตนเอง คนไทยทุกคนจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเอกลักษณ์ไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

 ความหมายของเอกลักษณ์ไทย
           เอกลักษณ์คือ ลักษณะที่เด่นชัดของสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งลักษณะเหมือนกันหรือร่วมกันของสังคมนั้น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างจากลักษณะของสังคมอื่น
เอกลักษณ์ไทยจึงหมายถึง ลักษณะของความเป็นไทยที่ดูแล้วแตกต่างจากลักษณะสังคมของชนชาติอื่นมีความแตกต่าง ซึ่งอาจมองได้จากรูปลักษณะ การประพฤติปฏิบัติ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย วัฒนธรรมจารีตประเพณี ฯลฯสังเกตได้ว่าลักษณะเด่นของความเป็นไทยนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ก็สามารถแยกออกจากชนชาติอื่นได้ นอกจากภาษาพูดแล้ว ความยิ้มแย้มแจ่มใสก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสังคมไทย จนชาวตะวันตกขนานนามว่า "สยามเมืองยิ้ม"
เอกลักษณ์เด่นของวัฒนธรรมไทยพอสรุปได้ดังนี้
จุดเด่นของวัฒนธรรมไทย

           - เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมเป็น "วัฒนธรรมเกษตร" เช่น มีการช่วยเหลือกัน เรียกว่าการลงแขกเกี่ยวข้าว การแห่นางแมวเพื่อขอฝนการทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ
           - เป็นสังคมที่มีความสนุกสนาน การทำงานจะเป็นไปพร้อมกับความรื่นเริง เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวจะร้องเพลงไปด้วย "เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยวชะชะเกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว อย่ามัวแลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยวก้อยเอย"
           - เป็นสังคมที่เทิดทูลพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
           - นับถือพระพุทธศาสนา เป็นสังคมชาวพุทธ มีพุทธศาสนิกชนให้ความสำคัญ
           - มีน้ำใจของความเป็นไทย พึ่งพาอาศัยกัน รักความสงบ
           - ชอบเรื่องการทำบุญ สร้างกุศล และช่วยงานบุญกกกกกุศล

เอกลักลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
           - ภาษาไทย ตัวอักษรไทย ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
           - อาหารไทย เช่นน้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้ง ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก
           - สมุนไพรไทย แม้แต่ต่างชาติก็ให้ความสนใจ เช่น ว่านหางจระเข้ กระชายดำ กราวเครือ
           - ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยซึ่งหายากในชนชาติอื่น
           - มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ
           - ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว
           - การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง
           - ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง
           - การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ลำตัด
           - สิ่งก่อสร้างเช่นเรือไทย
           - เพลงไทย เช่นเพลงไทย(เพลงไทยเดิม) เพลงลูกทุ่ง

เอกลักษณ์ที่สำคัญของสังคมไทย 
เอกลักษณ์ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สืบทอดโดยมอบเป็นมรดกให้แก่อนุชนรุ่นหลังไว้ได้เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี คนไทยควรนำมาปฏิบัติและสืบสานต่อไป

เอกลักษณ์ที่ดีและควรสืบสานในสังคมไทย
1. เป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ กษัตริย์ไทยโบราณ จนถึงปัจจุบันทรงเป็น ผู้นำประเทศให้พ้นภัย ทำนุบำรุง ประเทศชาติให้รุ่งเรือง
2. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติ มีความอดทน การร่วมมือร่วมใจ รู้จักบุญคุณของธรรมชาติและบุญคุณของแผ่นดิน
3. ครอบครัว เป็นเอกลักษณ์ของสังคมที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมีความผูกพันเคารพในระบบอาวุโสทำให้คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตนรู้จักกาลเทศะ
4. ศาสนา สังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาแต่อดีต และเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือ กันมากที่สุด หลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา สอนให้คนไทยยึดถือทางสายกลาง เชื่อในเรื่องบาป 
บุญ คุณโทษ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์แม้แต่ชาวต่างชาติก็หันมานับถือและบวชในพระพุทธศาสนากันมาก
5. ภาษา เริ่มกันมาแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้คนไทยมีภาษาไทยใช้ เป็นเอกลัก
6. รักอิสระ หรืออาจใช้คำว่า ความเป็นไท ไม่ขึ้นกับใคร แสดงความเป็นเอกราช ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทีควรดำรงไว้
7. ศิลปกรรม คือ ผลงานที่ช่างฝีมือไทยหรือศิลปินไทยได้สร้างสมไว้จากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
     7.1 จิตรกรรม (Painting) จิตกรรมไทย หมายถึง ภาพที่แสดงถึงเรื่องราว ตลอดไปถึงการเขียน
ภาพลวดลายประดับตกแต่งในงานช่างต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง และเพื่อให้เกิดความสวยงามในศิลปะตามคติของชาติ
  7.2 ประติมากรรมไทย (Sculpture) งานประติมากรรมไทย หมายถึง งานปั้น และงานแกะสลัก ที่ต้องนำมาทำการหล่ออีกทีหนึ่งซึ่งเป็นงานฝีมือ โดยมากมักจะเป็นการปั้นเกี่ยวกับพระพุทธรูป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ เครื่องใช้และเครื่องประดับต่าง ๆ 
  7.3 สถาปัตยกรรม คือ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ตึก บ้านเรือน พระมหาราชวังตลอดจนอนุสาวรีย์ใหญ่ ๆ พีรามิด สถูป เจดีย์ วิหารปราสาท พระปรางค์ มณฑป อุโบสถ ดังนั้นจะเห็นได้ว่างานสถาปัตยกรรมมักควบคู่ไปกับงานประติมากรรม ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างดูสวยงาม อ่อนช้อย
  7.4 วรรณกรรม (Literature) วรรณกรรม คือ หนังสือทั้งประเภทร้อยกรอง(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)และร้อยแก้วคือเรียงความธรรมดารวมถึงการจดจำเรื่องราวต่างๆ เช่น นิทาน ตำนานด้วยวรรณกรรมที่เป็นอมตะ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
  7.5 นาฏศิลป์ และดุริยางค์ศิลป์ (Music and Dramatic) นาฏศิลป์และดนตรี หรือคีตกรรม คือ ดนตรีทุกประเภท รวมทั้งการร่ายรำระบำต่าง ๆ   เช่นโขน ลิเก ละครรำ รำไทย การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น

มนุษย์กับวัฒนธรรม

มนุษย์กับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันคบหาสมาคม ประกอบอาชีพร่วมกัน ล้วนเป็นผลมาจากวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สังคมและวัฒนธรรมจึงจำเป็นของคู่กันโดยมนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสร้างความเจริญให้แก่สังคมของมนุษย์ 


 ความหมายของมนุษย์
มนุษย์ เป็นสัตว์สังคมที่มีลักษณะพิเศษที่เจริญกว่าสัตว์ทั้งหลาย รู้จักใช้เหตุผล มีจิตใจสูงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ต้องการความรัก ความอบอุ่น การยอมรับ เกียรติยศ ความสำเร็จด้วยการสร้างสรรค์ สั่งสมประสบการณ์ เอาชนะธรรมชาติและพัฒนาตนเอง เริ่มจากการพึ่งพาอาศัยกันมนุษย์มีสติปัญญาจากการเรียนรู้ ระยะเวลาที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ดังนั้นยาวนานกว่าสัตว์อื่น เพราะตั้งแต่เป็นทารก เป็นเด็ก ต้องได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้สังคมให้มีชีวิตรอด มีการสื่อสารถ่ายทอดประดิษฐ์คิดค้น เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกันเอง มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้สังคมพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปตามลำดับ
การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้ดีกว่าสัตว์อื่นนอกจากนี้มนุษย์ยังมีลักษณะพิเศษ กว่าสัตว์อื่น ๆ ดังนี้
1. มนุษย์มีร่างกายตั้งฉากกับพื้นโลกผิดจากสัตว์อื่น 
2. มีมันสมองมากว่า จึงเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์อื่น 
3. มีนัยน์ตาอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นได้รอบ
4. มีเพศสัมพันธ์ไม่จำกัดฤดูกาล สามารถสร้างสมาชิกใหม่ให้สังคมได้เมื่อมนุษย์ต้องการ
5. มีมือที่สมารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัดกว่าสัตว์อื่น
6. มีวัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม 
คำว่า วัฒนธรรม มาจากภาษาอังกฤษว่า Culture ซึ่งคำเดิมในภาษาละตินคือ Cultura มีความหมายหลายอย่าง เช่น การเพราะปลูก การปลูกฝัง การปลูกพืช การทำให้ดีกว่าเดิมโดยการอบรมหรือฝึกหัด  ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 คำว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามหากมีการเจริญขึ้นด้วยการศึกษาอบรมจะอยู่ในขอบข่าย ความหมายของคำว่าวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้น
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติไว้ โดยมาจากการรวมกันสองคำ คือ
 - วฒน มาจาก วุฒุน ในภาษาบาลี หมายถึง ความเจริญงอกงาม 
 - ธรรม มาจาก ธรุม ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สภาพที่เป็นอยู่จริง
วัฒนธรรม หมายถึง สภาพที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม หรือความมีระเบียบวินัย นิยามของคำว่า วัฒนธรรมนั้น ยังมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ แต่กล่าวโดยสรุปแล้ว ความหมายของวัฒนธรรมเป็นดังนี้
วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดำเนินชีวิตของคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็น "มรดกแห่งสังคม" เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จนเป็นวิถีของสังคม

ลักษณะของวัฒนธรรม 
วัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญซึ่งอาจแยกกล่าวได้ ดังนี้
1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากากรเรียนรู้ (Learned Behavior)
วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น กริยาท่าทาง การพูด การเขียน การแต่งกาย มารยาทต่าง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้เท่านั้นจึงจะทำได้ การที่มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมได้ ก็เพราะมนุษย์สามารถติดต่อทำความเข้าใจกันโดยใช้สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนแต่ถ้ามนุษย์ถูกแยกออกจากเพื่อนมนุษย์อื่นและไม่ได้รับการสั่งสอนก็ไม่อาจทำสิ่งต่าง ๆได้ ดังนั้น การที่เด็กขาดลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ก็เพราะว่าไม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรม วัฒนธรรมจึงเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้
2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต (Way of Life)
ในทางสังคมศาสตร์ กล่าว วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต เป็นตัวกำหนดรูปแบบที่จดจำสืบต่อกันมาทั้งด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การปกครอง การกิน การเขียน การทำงาน ล้วนเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแบบแผนกันไปในแต่ละชาติ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน หรือวัฒนธรรมตะวันตกเป็นต้น
      
วัฒนธรรมการแต่งงานแต่ละชาติ

 3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม (Social Heritage) 
วัฒนธรรมของมนุษย์นั้นสามารถถ่ายทอดสืบสารต่อกันได้ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ช่วยให้มนุษย์สื่อสารและเข้าใจกันได้

      
ศิลาจารึก

4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์ (The Superorganic ) 
หมายถึงวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งไม่คงที่นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกี่ยวพันกับ กระบวนการทางพันธุกรรม หรือไม่เกี่ยวข้อง กับร่างกายนั่นเอง มนุษย์ชาติทั้งมวล สามารถได้รับประโยชน์ จากสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่สะดวกรวดเร็วขึ้นผลที่ ตามมาคือมีการสร้างท่าอากาศยาน ถนนหนทาง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผลต่อสังคมใน ด้านอื่นๆมากมาย     

องค์ประกอบของวัฒนธรรม 
วัฒนธรรมเป็นผลจาการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม ระบบความเชื่อ ศิลปกรรมต่างๆ ค่านิยม ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ให้ตอบสนองรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อเป็นการปรับตัวให้ทันกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรจะเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่รวมกันแล้วทำให้เกิดรูปแบบของวัฒนธรรมขึ้นมาซึ่งมีตัวอย่าง 4 ส่วน ดังนี้
1. องค์มติ (Concept) หมายถึง ความเชื่อ ความคิดเห็น ความเข้าใจ ตลอดจนอุดมการณ์ต่างๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้เจตนาความเชื่อในเรื่องของการมีผัวเดียวเมียเดียวที่ถือเป็นขนบธรรมเนียมค่านิยมของสังคมที่บ่งบอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีงามของสังคมไทย ซึ่งควรแก่การยกย่องความเชื่อในเรื่องของการตายและการเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องของพระเจ้าองค์เดียวหรือหลายองค์ตลอดจนทัศนคติการยอมรับในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ซึ่งแล้วแต่กลุ่มชนจะใช้มาตรฐานใดในการตัดสิน หรือเป็นเครื่องวัดสภาพแวดล้อมของตน
2. องค์การ (Association or Organization) หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราได้เป็นระเบียบ และมีระบบในการบริหารงานอย่างชัดเจน ทำให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือทำงานและปกครองคนได้อย่างดี เช่น สถาบัน สมาคม สโมสร วัดสภากาชาด สหพันธ์กรรมกร กลุ่มลูกเสือ ครอบครัว (องค์กรที่เล็กที่สุด)องค์การที่ใหญ่ที่สุดก็คือ องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
3. องค์พิธีการ (Usage) เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปซึ่งแสดงออกในรูปพิธีกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีการโกนผมไฟ พิธีการแต่งงาน การตายหรือพิธีตั้งศพ
4. องค์วัตถุ (Instrumental and Symbolic Objects) คือ วัฒนธรรมทางวัตถุที่มีรูปร่างสามารถมองเห็นสัมผัสแตะต้องได้ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในระบบการเกษตรกรรม ระบบการอุตสาหกรรม โรงเรียน อาคารสถานที่ต่างๆ วัด โบสถ์ วิหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ทางวัฒนธรรมเช่น คนโทน้ำ จานถ้วย และมีด กาน้ำตลอดจนผลผลิตของมนุษย์ในทางศิลปกรรม เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ส่วนองค์วัตถุที่ไม่มีรูปร่างก็จะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงสัญลักษณ์ในการติดต่อสื่อความหมาย เช่น ภาษา ตัวเลข มาตราชั่ง ตวง วัด 

ประเภทของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรมนั้น มีการจำแนกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้
แนวคิดที่ 1 ตามหลักด้านสังคมวิทยา - แนวคิดที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2585

           แนวคิดที่ 1 แบ่งประเภทวัฒนธรรมตามหลักทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะสภาพสังคมในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน แต่รูปแบบที่มีลักษณะสวนทางกันซึ่งแนวคิดนี้จำแนกเป็น
 - วัฒนธรรมทางวัตถุ (material Culture)
 - วัฒนธรรมที่ไม่วัตถุ (Non-material Culture)

1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้
           มีรูปร่าง จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรคเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ (Non - material Culture) 
หมายถึงวัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ภาษา ความคิด ค่านิยม ถ้อยคำที่ใช้พูด ถ้อยคำที่ใช้พูด ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์ยึดถือเกี่ยวกับศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้บางครั้งรวมเอากติกาการแข่งขันกีฬา แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีของผู้แข่งขัน และการดูการแข่งขันไว้ด้วย

วัฒนธรรมความเชื่อ ศรัทธา

โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ แต่ถ้าวัฒนธรรมทั้งสองส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากันก็จะทำให้เกิดภาวะวัฒนธรรมล้า (Culture Lag) ส่วนใหญ่วัฒนธรรมทางวัตถุมักเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ เช่นสังคมไทยเรารับเอาความเจริญทางวัตถุจากตะวันตกมาใช้ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ แต่ส่วนใดที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น เรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบลักษณะนิสัยการทำงาน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่าส่วนที่เป็นวัตถุ จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจราจร ปัญหาอาชญากรรม หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


ความหมายของสังคม
คำว่า "สังคม" นั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่าง ๆ มากมาย แต่พอสรุปความหมายได้ดังนี้ สังคมหมายถึง กลุ่มคนมากกว่าสองคนขึ้นไป ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นเวลายาวนานในขอบเขตหรือ พื้นที่กำหนด ณ ที่ใดที่หนึ่ง มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วยสมาชิกเป็นคนทุกเพศทุกวัย ปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ภายใต้กฎเกณฑ์หรือระเบียบเดียวกัน โดยมีวัฒนธรรม ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต เป็นของตนเอง ปฏิบัติหน้าที่และแสดงบทบาทเพื่อสังคมดำรงความเป็นปึกแผ่น มั่นคงถาวร และเจริญก้าวหน้า

องค์ประกอบของสังคม
การที่คนจะมารวมกันเพื่อทำกิจกรรม หรือดำเนินชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ เดียวกันนั้น ต้องมีองค์ประกอบและองค์ประกอบนั้นคือ 
          1. ประชากรจำนวนหนึ่งทั้งเพศหญิงและชาย
          2. พื้นที่หรือดินแดนที่มีอานาเขตแน่นอน
          3. ความสัมพันธ์ของผู้คนมีต่อกัน
          4. การกระทำที่ต่อเนื่องจนเป็นกิจวัตร แม้ว่าจะมีหน้าที่ต่อสังคมแตกต่างกัน 
          5. การประพฤติและปฏิบัติตนของสมาชิกภายใต้กรอบของสถาบันหรือวัฒนธรรมเดียวกัน 

 ความสำคัญของสังคม
มนุษย์จำเป็นต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์นั้นมิได้มีมาแต่กำเนิด แต่เกิด จากการที่มนุษย์ได้เป็นสมาชิกของสังคม ทำให้มนุษย์เรียนรู้แบบแผนต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์คือ ครอบครัว ความรู้จากแบบแผนมนุษย์ รุ่นก่อนจากสภาพแวดล้อมครอบครัว จากสถาบันที่ตนได้สัมผัส สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพล และมีส่วนทำให้มนุษย์ที่สมบรูณ์สามารถยังชีพอยู่สังคมได้อย่างมั่นคง

ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
สาเหตุที่มนุษย์ต้องการร่วมกันในสังคม มีดังนี้
1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการหลายอย่าง แต่พื้นฐานจริงๆ ก็คือปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากวัตถุนั้นแล้วมนุษย์ต้องการความรัก ความอบอุ่นความเข้าใจ ความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน
2. เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม การเป็นที่ยอมรับทำให้มนุษย์เกิดความมั่นใจ ความภูมิใจ ความเข้าใจที่จะทำกิจกรรม ให้กับสังคมทำให้เกิดความสุข แต่ถ้าไม่ยอมรับ ธรรมชาติของมนุษย์จะหลีกเลี่ยง จากสังคมนั้น ทำให้เกิดทุกข์ ไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตและไม่มีความสุขที่จะอยู่ในสังคมนั้นๆ
3. เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเองและกลุ่ม มนุษย์จะรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมีความเอื้ออาทรต่อกันเมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกันและเกิดความเต็มใจ ก็จะช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานเมื่อผลงานนั้นเกิดความสำเร็จจะกลายเป็นความภาคภูมิใจ สังคมก็จะเจริญกว้าหน้า 

หน้าที่ของสังคม
สังคมประกอบด้วยมนุษย์ทุกเพศทุกวัย มีความรับผิดชอบ อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันดังนั้น หน้าที่ของคนในสังคมที่จะตามมามีดังนี้
1. ผลิตสมาชิกใหม่ ธำรงไว้ซึ่งหน้าที่ทางชีวะ คือ การให้กำเนิดลุกหลานเพื่อทดแทนสมาชิกใหม่
           2. อบรมสมาชิกใหม่ ให้สามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมดำรงอยู่และความเจริญก้าวหน้าของสังคม
           3. รักษากฎระเบียบของสังคม ปกป้องคุ้มครองคนดี รักษากฎหมาย เพื่อความสงบสุขของสังคม
           4. ส่งเสริมเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า เช่น ผลิต จำหน่าย แจกจ่ายสิ้นค้าและบริการให้ขวัญ กำลังใจร่วมกลุ่มช่วยกันทำ แบ่งงานตามความชำนาญ ก่อให้เกิดกำลังใจ ทำให้สังคมแข็งแรง เศรษฐกิจเข้มแข็ง คนในสังคมกินดีอยู่ดีก็มีความสุข

ความหมายของโครงสร้างสังคม (Social Struction) 
โครงสร้างสังคม (Social Interaction) คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีองค์ประกอบทาง สังคมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ อาจออกมาในรูปของความร่วมมือ ความขัดแย้ง การแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนนั้นจะมีเครื่องยึดเหนี่ยว ซึ่งเป็นบรรทัดฐานให้คนมาอยู่ รวมกันเป็นสังคมอย่าง สันติสุขได้
ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. มีปฎิสัมพันธ์(Social Interaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปติดต่อ สัมพันธ์กัน อาจเป็นกลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน หรือกลุ่มทุติยภูมิ ที่มีการติดต่อรวมกันโดยหน้าที่ การงาน เช่น การประชุมการสนทนากัน การคบหาสมาคมการขัดแย้ง หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน 
2. มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือบรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ เพื่อให้ทุกคนยึดถือ ปฏิบัติ ร่วมกันทำให้สังคมดำรงอยู่ ดำเนินไอย่างเป็นระเบียบ เช่น การปฏิบัติระหว่างบิดามารดากับบุตรหรือ ระหว่างครูกับศิษย์เป็นต้น
           3. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นนอน ซึ่งมีอยู่ 2 อย่าง ดังนี้
                   - เป้าหมายเฉพาะตัว หรือเป้าหมายของสมาชิกแต่ละคน เช่น ต้องการความรักความสำเร็จความกว้าวหน้าการมี ฐานะดี ครอบครัวอบอุ่น
                   - เป้าหมายรวม เช่น ต้องการให้สังคมที่ตนอยู่มีชื่อเสียง มีความปลอดภัย สงบสุข มีความเจริญ
           4. มีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย สังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้มีการพัฒนา เพื่อให้โครงสร้างที่ดีกว่าเข้าทดแทนโครงสร้างที่ล้าสมัย ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม จำนวนสมาชิก แม้ระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อความเหมาะสม

องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม 
           โครงสร้างทางสังคมจะมั่นคงเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสังคมที่สำคัญ 2 ประการดังนี้
           1. การจัดการระเบียบสังคม
           2. สถาบันทางสังคม

การจัดระเบียบสังคม (Social Organization) 
           สมาชิกของสังคมมีความแตกต่างกัน ทั้งแนวความคิด และความต้องการ การจัดระเบียบสังคมจึงมีความจำเป็น เพื่อเป็น ระเบียบสงบสุข จึงต้องมีกระบวนการจัดระเบียบในบทบาทและหน้าที่ของบุคคล 2 ประการคือ
           1. บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) หมายถึง แบบพฤติกรรมกฎเกณฑ์ หรือคตินิยมที่สังคมกำหนดไว้เป็น มาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติที่สังคมยอมรับว่าดีและถูกต้องได้แก่
                   1.1 วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา (Folk Ways) หมายถึง แนวทางการปฏิบัติที่บุคคลปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน ไม่มีกฎหมายบังคับ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มีบทลงโทษ แต่อาจถูกตำหนิติเตียน เช่นการใส่ชุดดำไปงานแต่งาน หรือการเสีย มารยาทในสังคมเช่นไม่เข้าแถวในการซื้อตั๋วดูภาพยนต์ปิดเสียงโทรศัพท์ในการประชุมสัมมนาหรือในห้องเรียนเป็นต้น
                   1.2 จารีตหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ข้อห้ามในการกระทำบางอย่างของสังคมซึ่งมีเรื่องกฎศีลธรรมเกี่ยวกับ ความดี ความชั่ว เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหากผู้ใดระเมิดจะได้รับการต่อต้านรุ่นแรงกว่า
วิถีชาวบ้าน เช่น ทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูพ่อ-แม่ ยามแก่เฒ่า ไม่เลี้ยงดูบุตร เป็นต้น 
                   1.3 กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎข้อบังคับความประพฤติของบุคคลในสังคมผู้ใดระเมิดไม่ปฏิบัติมีบทลงโทษ ตาม กฎหมาย ที่กำหนดไว้ เช่น การฆ่าคนตาย การทำร้ายร่างกาย หรือการทิ้งขยะในที่สาธารณะเป็นต้น

           2. สถานภาพและบทบาททางสังคม 
         2.1 สถานภาพ หมายถึง ฐานะ หรือตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของสังคมสถานภาพคือตัวกำหนดบทบาทมี 2 อย่างคือ
                             - สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Aseribed Status) เช่นเพศ อายุ เชื้อชาติ บุตร ธิดา มารดา
                  - สถานภาพที่สังคม กำหนด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น
                  - สถานภาพที่ได้มาจากความสามารถ (Achieved Status) ได้แก่สติปัญญาของตนเอง จากการศึกษาเล่าเรียน จาก การทำงาน เช่น กรรมกร แพทย์ วิศวกร ครู พยาบาล ทนายความ ตำรวจ เป็นต้น
         2.2 บทบาททางสังคม หมายถึง การกระทำที่แสดงตามสถานภาพเช่น 

 ครูอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่นักเรียน
ตำรวจรักษาความสงบ จับผู้กระทำผิด
แพทย์ให้การรักษาผู้เจ็บป่วย

พ่อแม่ เลี้ยงดู ให้การอบรมสั่งสอนบุตร

สถาบันทางสังคม  (Institution) 
หมายถึง แบบแผน พฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานของสังคมที่มีเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคม และมีหน้าที่ทำให้สังคม คงสภาพอยู่ได้ สถาบันที่สำคัญ ประกอบด้วย   

                      

1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีบทบาทต่อสังคมมากเพราะมีหน้าที่ในการอบรม สั่งสอนเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ให้เป็นคนดีมีคุณภาพของสังคม ซึ่ง เกิดจากการสมรสของชายหญิง ที่ตกลงจะมีชีวิตคู่ ร่วมกัน เมื่อให้กำเนิดบุตรหน้าที่ของบิดาและมารดา จึงมีความสำคัญมาก
           2. สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่สนองความต้องการของสังคมด้านการถ่ายทอดความรู้ทักษะวิชาการ และวิชาชีพเพื่อให้สมาชิกมีความรู้ ความสมารถ วัฒนธรรม คุณธรรม
           3. สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นแบบอย่างของการคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาระเบียบ ความสงบ เรียบร้อยของสังคม พิทักษ์ความถูกต้อง รักษาอธิปไตยของชาติ

ทำเนียบรัฐบาล ที่ทำการของนายกรัฐมนตรี

4. สถาบันเศรษฐกิจ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านการผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน สิ้นค้าและบริการแก่สมาชิกในสังคม
               
ตลาดหุ้นและการลงทุน


           5. สถาบันศาสนา ปฏิบัติหน้าที่ทางพิธีกรรม อบรมสั่งสอนหลักธรรม เพื่อสนองความต้องการของสังคมในเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ ช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคม ทั้งกาย วาจาใจ ให้อยู่ในระเบียบ เพื่อให้เกิดสันติสุข
วัด
โบสถ์
เทวสถาน
มัสยิด

6. สถาบันสื่อสารมวลชน สนองความต้องการของสังคมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ทำให้บุคคลในสังคมทันเหตุการณ์ ในโลกยุคปัจจุบัน ทันคน ไม่ตกข่าว 

หนังสือพิมพ์ สถาบันสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง

           7. สถาบันนันทนาการ สนองความต้องการสมาชิกในสังคมในด้านการพักผ่อนหย่อนใจการออกกำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้มีความแข็งแรงสมบรูณ์ 

 หน้าที่ของสถาบันทางสังคม 
         1. เพิ่มจำนวนสมาชิกให้สังคม ชดเชยสมาชิกที่ขาดไป เลี้ยงดูให้มีสุขภาพพลานามัยสมบรูณ์
           2. ให้การศึกษา ความรู้ทางด้านวิชาการ มีความชำนาญด้านวิชาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตให้สังคมอย่างสงบสุข
              3. สนับสนุนความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความมั่นคงของสังคมให้เจริญก้าวหน้า
              4. ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ให้ประชากรมีการกินดีอยู่ดี
              5. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในสังคม ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบรูณ์
              6. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสาร สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
              7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจได้เหมาะสมกับวัยเป็นการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ มีผลต่อสุขภาพอนามัยที่ดี