วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทย  
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองสั่งสมมาเป็นเวลานานนับพันปีสะท้อนให้เห็นวิถีความเป็นไทยซึ่งเป็นมรดกของบรรพบุรุษจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีคุณค่าควรยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย

ความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย
ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามแต่โบราณ โดยมีที่มาดังนี้
1. วัฒนธรรมไทยที่เรามีการปฏิบัติกันอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นของคนรุ่นก่อนๆ หรือบรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอดมายัง อนุชนรุ่นหลัง
2. จากการที่เราได้ติดต่อกับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ชนชาติที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย คือมอญขอมอินเดีย จีน และชาติตะวันตก สำหรับมอญ และขอม 2 ชาตินี้รับอธิพลมาจากอินเดีย สิ่งใดมีประโยชน์ก็นำมาดัดแปลง เป็นวัฒนธรรมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความสามารถของสังคมไทย จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์หล่อรวมกันเป็นวัฒนธรรมซึ่งลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นๆ หลายอย่างดังนี้
1. การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สังคมไทยรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือของชาวไทย มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาถึง 95 % หลักคำสั่งสอนสำคัญของพุทธศาสนาที่ สำคัญคือสอนให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์วิถีชีวิตของคนไทยจะมีพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่
2. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จากการถวายความจงรักภักดีในวาระต่างๆ แสดงถึงความยึดมั่นในพระองค์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
3. อักษรไทยและภาษาไทย  สังคมไทยมีอักษรใช้มานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยได้รับอิทธิพลจากขอม และได้รับการพัฒนาโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภูมิใจเพราะภาษาถือว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
4. ประเพณีไทย เป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับพระพุทธ ศาสนา อาจมีคติลัทธิศาสนาอื่นผสมอยู่ด้วยซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณ ประเพณีที่นำมาปฏิบัติกันเช่น ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน
5.  วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัยสี่ คือเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย อาหารยารักษาโรค
6. ศิลปกรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการเพียรพยายามของมนุษย์ ในการปรุงแต่งชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทำสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสวยงาม รวมทั้งเป็นอาหารใจด้วยวัฒนธรรมในดานศิลปกรรมมีดังนี้ 
วรรณกรรม เป็นศิลปะการที่แสดงออกในรูปของตัวหนังสือ การแต่งความเป็นเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกทางอารมณ์แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจ
7. จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี มีการแสดงความเคารพแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆเช่นการยิ้ม การทักทาย การไหว้การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ด้านจิตใจ คนไทยได้รับอธิพลจากพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ มีความโอมอ้อมอารีต่อคนทั่วไป เคารพผู้อาวุโส

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
           วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion) 
หลังการปฏิบัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น
2. อธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ 
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
                  - ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
                  - รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการศึกษาและสังคมมีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
                             - ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งทางด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจากตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
           2. ทางการเมือง
                            - 
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
                            - สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ(ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
                            - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจนกระทั่งปี พ.ศ. 2575 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอธิพลจากประเทศในยุโรป  
  
           3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอธิพลจากตะวันตกมาที่สุด
           4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ
วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
           1. การเมืองการปกครองกษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายส่วนประมวลกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้นเป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธี
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
           3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษาแต่ไม่ใช่คำพูดไม่มีอธิพลเหมือนภาษาตะวันตกวรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะมหาภารตยุทธและพระไตรปิฎก
4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนังท่าร่ายร่ำต่าง ๆ

วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
           เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้าส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
           2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
           3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊ก อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
           4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทยใช้ในพิธีก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ยผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น
วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟการสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นอาหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดา เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอก เข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศวรมหาราชอาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้วกล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา        
อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์มีตำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง  ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลง และหยุดชะงักไป ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายในวัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฏิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขายตั้งธนาคารแห่งแรก คือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลาน มาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทนเปลี่ยนแปลงการแต่งกายจัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัยมีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิงเด็กชาย 

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม 
เอกลักษณ์เป็นลักษณะเด่นของสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอื่นเพราะเกิดจากการสั่งสมของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลาช้านานเอกลักษณ์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชนชาวไทยทุกคนในการมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษา ศิลปกรรม อาหาร การแต่งกาย เป็นของตนเอง คนไทยทุกคนจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเอกลักษณ์ไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

 ความหมายของเอกลักษณ์ไทย
           เอกลักษณ์คือ ลักษณะที่เด่นชัดของสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งลักษณะเหมือนกันหรือร่วมกันของสังคมนั้น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างจากลักษณะของสังคมอื่น
เอกลักษณ์ไทยจึงหมายถึง ลักษณะของความเป็นไทยที่ดูแล้วแตกต่างจากลักษณะสังคมของชนชาติอื่นมีความแตกต่าง ซึ่งอาจมองได้จากรูปลักษณะ การประพฤติปฏิบัติ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย วัฒนธรรมจารีตประเพณี ฯลฯสังเกตได้ว่าลักษณะเด่นของความเป็นไทยนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ก็สามารถแยกออกจากชนชาติอื่นได้ นอกจากภาษาพูดแล้ว ความยิ้มแย้มแจ่มใสก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสังคมไทย จนชาวตะวันตกขนานนามว่า "สยามเมืองยิ้ม"
เอกลักษณ์เด่นของวัฒนธรรมไทยพอสรุปได้ดังนี้
จุดเด่นของวัฒนธรรมไทย

           - เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมเป็น "วัฒนธรรมเกษตร" เช่น มีการช่วยเหลือกัน เรียกว่าการลงแขกเกี่ยวข้าว การแห่นางแมวเพื่อขอฝนการทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ
           - เป็นสังคมที่มีความสนุกสนาน การทำงานจะเป็นไปพร้อมกับความรื่นเริง เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวจะร้องเพลงไปด้วย "เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยวชะชะเกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว อย่ามัวแลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยวก้อยเอย"
           - เป็นสังคมที่เทิดทูลพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
           - นับถือพระพุทธศาสนา เป็นสังคมชาวพุทธ มีพุทธศาสนิกชนให้ความสำคัญ
           - มีน้ำใจของความเป็นไทย พึ่งพาอาศัยกัน รักความสงบ
           - ชอบเรื่องการทำบุญ สร้างกุศล และช่วยงานบุญกกกกกุศล

เอกลักลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
           - ภาษาไทย ตัวอักษรไทย ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
           - อาหารไทย เช่นน้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้ง ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก
           - สมุนไพรไทย แม้แต่ต่างชาติก็ให้ความสนใจ เช่น ว่านหางจระเข้ กระชายดำ กราวเครือ
           - ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยซึ่งหายากในชนชาติอื่น
           - มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ
           - ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว
           - การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง
           - ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง
           - การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ลำตัด
           - สิ่งก่อสร้างเช่นเรือไทย
           - เพลงไทย เช่นเพลงไทย(เพลงไทยเดิม) เพลงลูกทุ่ง

เอกลักษณ์ที่สำคัญของสังคมไทย 
เอกลักษณ์ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สืบทอดโดยมอบเป็นมรดกให้แก่อนุชนรุ่นหลังไว้ได้เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี คนไทยควรนำมาปฏิบัติและสืบสานต่อไป

เอกลักษณ์ที่ดีและควรสืบสานในสังคมไทย
1. เป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ กษัตริย์ไทยโบราณ จนถึงปัจจุบันทรงเป็น ผู้นำประเทศให้พ้นภัย ทำนุบำรุง ประเทศชาติให้รุ่งเรือง
2. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติ มีความอดทน การร่วมมือร่วมใจ รู้จักบุญคุณของธรรมชาติและบุญคุณของแผ่นดิน
3. ครอบครัว เป็นเอกลักษณ์ของสังคมที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมีความผูกพันเคารพในระบบอาวุโสทำให้คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตนรู้จักกาลเทศะ
4. ศาสนา สังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาแต่อดีต และเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือ กันมากที่สุด หลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา สอนให้คนไทยยึดถือทางสายกลาง เชื่อในเรื่องบาป 
บุญ คุณโทษ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์แม้แต่ชาวต่างชาติก็หันมานับถือและบวชในพระพุทธศาสนากันมาก
5. ภาษา เริ่มกันมาแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้คนไทยมีภาษาไทยใช้ เป็นเอกลัก
6. รักอิสระ หรืออาจใช้คำว่า ความเป็นไท ไม่ขึ้นกับใคร แสดงความเป็นเอกราช ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทีควรดำรงไว้
7. ศิลปกรรม คือ ผลงานที่ช่างฝีมือไทยหรือศิลปินไทยได้สร้างสมไว้จากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
     7.1 จิตรกรรม (Painting) จิตกรรมไทย หมายถึง ภาพที่แสดงถึงเรื่องราว ตลอดไปถึงการเขียน
ภาพลวดลายประดับตกแต่งในงานช่างต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง และเพื่อให้เกิดความสวยงามในศิลปะตามคติของชาติ
  7.2 ประติมากรรมไทย (Sculpture) งานประติมากรรมไทย หมายถึง งานปั้น และงานแกะสลัก ที่ต้องนำมาทำการหล่ออีกทีหนึ่งซึ่งเป็นงานฝีมือ โดยมากมักจะเป็นการปั้นเกี่ยวกับพระพุทธรูป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ เครื่องใช้และเครื่องประดับต่าง ๆ 
  7.3 สถาปัตยกรรม คือ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ตึก บ้านเรือน พระมหาราชวังตลอดจนอนุสาวรีย์ใหญ่ ๆ พีรามิด สถูป เจดีย์ วิหารปราสาท พระปรางค์ มณฑป อุโบสถ ดังนั้นจะเห็นได้ว่างานสถาปัตยกรรมมักควบคู่ไปกับงานประติมากรรม ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างดูสวยงาม อ่อนช้อย
  7.4 วรรณกรรม (Literature) วรรณกรรม คือ หนังสือทั้งประเภทร้อยกรอง(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)และร้อยแก้วคือเรียงความธรรมดารวมถึงการจดจำเรื่องราวต่างๆ เช่น นิทาน ตำนานด้วยวรรณกรรมที่เป็นอมตะ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
  7.5 นาฏศิลป์ และดุริยางค์ศิลป์ (Music and Dramatic) นาฏศิลป์และดนตรี หรือคีตกรรม คือ ดนตรีทุกประเภท รวมทั้งการร่ายรำระบำต่าง ๆ   เช่นโขน ลิเก ละครรำ รำไทย การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น